ดอลลี (แกะ)
ดอลลี (แกะ)

ดอลลี (แกะ)

ดอลลี (อังกฤษ: Dolly) (5 กรกฎาคม 2539 – 14 กุมภาพันธ์ 2546) เป็น แกะเลี้ยงเพศเมีย และเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตัวแรกที่ถูกโคลนจากเซลล์โซมาติก (somatic cell) ของสัตว์โตเต็มวัย โดยใช้วิธีถ่ายฝากนิวเคลียส (nuclear transfer)[2][3] ดอลลีถูกโคลนโดย เอียน วิลมุต (Ian Wilmut) คีธ แคมป์เบล (Keith Campbell) และผู้ร่วมงาน ณ สถาบันรอสลิน (Roslin Institute) ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ และบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ PPL Therapeutics ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเอดินบะระ เงินทุนในการโคลนดอลลีมาจากบริษัท PPL Therapeutics และกระทรวงการเกษตรของสหราชอาณาจักร[4] มันเกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และตายด้วยโรคทางปอดเมื่ออายุได้ 6 ปี 7 เดือน[5] หลายสื่อ เช่น BBC News และ Scientific American ยกย่องให้มันเป็น "แกะดังที่สุดในโลก"[6][7]เซลล์ที่ใช้เป็นผู้บริจาคเพื่อโคลนดอลลี ถูกนำมาจาก ต่อมน้ำนม และการที่สามารถสร้างโคลนที่แข็งแรงได้นั้นเป็นตัวพิสูจน์ว่า เซลล์จากส่วนหนึ่งของร่างกายสามารถนำมาสร้างสิ่งมีชีวิตได้ทั้งตัว วิลมุตกล่าวเกี่ยวกับชื่อของดอลลีว่า "ดอลลีมาจากเซลล์ต่อมน้ำนม และพวกเราไม่สามารถนึกถึงต่อมน้ำนมที่น่าประทับใจมากกว่าของดอลลี พาร์ตัน ได้"[1]

ดอลลี (แกะ)

ตั้งชื่อตาม ดอลลี พาร์ตัน[1]
สปีชีส์ แกะเลี้ยง Finn-Dorset
ที่ไว้ซาก พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสกอตแลนด์ (จัดแสดงซาก)
ฉายาอื่น ๆ 6LLS (code name)
เกิด 5 กรกฎาคม 2539
สถาบันรอสลิน เมืองเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์
ตาย 14 กุมภาพันธ์ 2546 (อายุ 6 ปี)
สถาบันรอสลิน เอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์
ทายาท ลูกแกะ 6 ตัว (บอนนี่; คู่แฝด แซลลีและโรซี แฝดสาม ลูซี ดาร์ซี และคอตตอน)
เพศ เมีย
เป็นที่รู้จักสำหรับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโคลนตัวแรกซึ่งถูกโคลนจากเซลล์ร่างกายที่โตเต็มวัย
สัญชาติ อังกฤษ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดอลลี (แกะ) http://google.com/search?q=cache:ZZqIBPjFuT0J:www.... http://www.biotecnika.googlepages.com/animal_cloni... http://www.nature.com/ncomms/2016/160726/ncomms123... http://www.nytimes.com/2016/07/27/science/dolly-th... http://www.sciam.com/article.cfm?id=no-more-clonin... http://adsabs.harvard.edu/abs/1996Natur.380...64C http://adsabs.harvard.edu/abs/1997Natur.385..810W http://adsabs.harvard.edu/abs/1999Natur.399..316H //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1803002 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10360570